ประชุมผู้บริหารสำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ครั้งที่ 11(54)/2567

ประชุมผู้บริหารสำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ครั้งที่ 11(54)/2567

ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานการประชุมผู้บริหารสำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ครั้งที่ 11(54)/2567 โดยผู้บริหารสำนักกิจการพิเศษ ได้ร่วมกันพิจารณาเรื่องรายงานผลการดำเนินงานด้านการเงิน และการพัฒนาบุคลากรสำนักกิจการพิเศษเดือนกรกฎาคม 2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 รวมถึงรับทราบผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสำนักกิจการพิเศษ ณ ห้องประชุม 1119 อาคาร 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567   

ม.สวนดุสิต จัดประชุมเตรียมความพร้อมพิธีไหว้ครู และพิธีทำบุญพระตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท (อาคารพระตำหนักเยาวภา) และการงานเกษียณอายุราชการ ประจำปี 2567

ม.สวนดุสิต จัดประชุมเตรียมความพร้อมพิธีไหว้ครู และพิธีทำบุญพระตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท (อาคารพระตำหนักเยาวภา) และการงานเกษียณอายุราชการ ประจำปี 2567

ว่าที่ร้อยตรี ดร.วราธร อภิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมพิธีไหว้ครู และพิธีทำบุญพระตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท (อาคารพระตำหนักเยาวภา) โดยมีวาระเรื่อง (ร่าง) กำหนดการพิธีไหว้ครู และทำบุญ พระตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท (อาคารพระตำหนักเยาวภา) การจัดเตรียมสถานที่เพื่อรองรับในการจัดพิธีไหว้ครู และทำบุญ การจัดเตรียมการต้อนรับ การจัดเตรียมด้านอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ รวมถึงหารือการงานเกษียณอายุราชการ ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567

สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดเสวนาเรื่อง “สุพรรณบุรีโมเดลเมืองต้นแบบอาหารปลอดภัยสู่ความยั่งยืน”ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)

สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดเสวนาเรื่อง “สุพรรณบุรีโมเดลเมืองต้นแบบอาหารปลอดภัยสู่ความยั่งยืน”ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้เกียรติกล่าวเปิดการเสวนาเรื่อง “สุพรรณบุรีโมเดล…เมืองต้นแบบอาหารปลอดภัยสู่ความยั่งยืน” ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)” ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม ดร.สรชัด สุจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี คุณณัชกฤติ พิมพ์ทอง กรรมการผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนสิริสุพรรณ คุณชาตรี รักธรรม ที่ปรึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง และคุณสุภคม เอื้อทยา สมาชิกวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์บ้านโพธิ์ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการสร้างความยั่งยืนผ่านการพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเมืองอาหารปลอดภัย และเชฟจารึก ศรีอรุณ อาจารย์ประจำโรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมสาธิตการสร้างสรรค์นำวัตถุดิบทางการเกษตรปลอดภัยของจังหวัดสุพรรณบุรีพัฒนาเป็นเมนูอาหารพร้อมทาน นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และรองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม ได้นำทีมคณะผู้บริหาร รวมทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าเยี่ยมชมการจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ร่วมจัดแสดงในงานนี้ด้วย…

The Pinnacle Leadership Program : PLP รุ่น 2 เรียนรู้การสร้างเสน่ห์ในการเป็นผู้นำในระดับตำนาน

The Pinnacle Leadership Program : PLP รุ่น 2 เรียนรู้การสร้างเสน่ห์ในการเป็นผู้นำในระดับตำนาน

The Pinnacle Leadership Program : PLP รุ่น 2 เรียนรู้การสร้างเสน่ห์ในการเป็นผู้นำในระดับตำนานผ่านประสบการณ์สุด Exclusive !! ในการเรียนรู้ทริคต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดูสง่างามในแบบฉบับของผู้นำ เรียนรู้ไปกับวิทยากรสุดพิเศษ “คุณพรฟ้า ปุณิกา กุลสุนทรรัตน์” ที่ได้รับการการันตีคุณภาพและความสามารถจากเวที Miss Universe Thailand พร้อมทั้งกิจกรรม Workshop ในการออกแบบท่าทางในการถ่ายภาพ เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพให้สง่างามในทุก ๆ มิติ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี

การประชุม Kick Off โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยกลไกความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูง”

การประชุม Kick Off โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยกลไกความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูง”

รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานการประชุม Kick Off โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยกลไกความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูง” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยการบูรณาการเครือข่ายการวิจัยจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ทั้งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เพื่อร่วมวิเคราะห์ศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ CWEC ในการพัฒนาเศรษฐกิจ  การพัฒนากลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่น การเสนอแนวทางและนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ CWEC ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารในพื้นที่ ในวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ อาคารจันทร์เจริญ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom)

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ร่วมการประชุมหารือกลุ่มย่อย (Focus Group) “นักวิจัยในพื้นที่”

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ร่วมการประชุมหารือกลุ่มย่อย (Focus Group) “นักวิจัยในพื้นที่”

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้เกียรติเป็นประธานและกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมหารือกลุ่มย่อย (Focus Group) “นักวิจัยในพื้นที่” ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยกลไกความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วม ของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูง” ทั้งนี้โดยมีคณาจารย์ คณะทำงาน จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็น ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายในครั้งนี้ และในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ในวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมพวงเงิน ชั้น 2 อาคารจันทร์เจริญ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี

อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์การศึกษา ลำปาง

อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์การศึกษา ลำปาง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรี ดร.วราธร อภิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์การศึกษา ลำปาง พร้อมรับฟังผลการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาในส่วนงานต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมทั้งมอบนโยบายทิศทางการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาให้แก่บุคลากร เพื่อเป็นการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาตนเอง ณ ศูนย์การศึกษา ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันที่ 23 สิงหาคม 2567

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดประชุมคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม (สัญจร) ครั้งที่ 4/2567 

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดประชุมคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม (สัญจร) ครั้งที่ 4/2567 

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดประชุมคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม (สัญจร) ครั้งที่ 4/2567  ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวต้อนรับคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม  ดร.วรานี เวสสุนทรเทพ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี กล่าวแนะนำวิทยาเขตสุพรรณบุรี และ รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม แลกเปลี่ยนแนวทางการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ : หอมขจรโมเดล โดยมี ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร ประธานคณะคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะกรรมการวิจัยฯจากสถาบันอุดมศึกษาร่วมประชุม  พร้อมรับฟังการบรรยายพิเศษโดย ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัย” และ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บรรยายพิเศษและหารือ “แนวทางการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”  โดยการประชุมครั้งนี้เล็งเห็นความสำคัญกับการพัฒนาในด้านการวิจัย นวัตกรรม และการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพราะสถาบันอุดมศึกษาถือเป็นรากฐานของปัญญาและแหล่งสั่งสมองค์ความรู้สำคัญในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมและประเทศชาติ ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม และมีวัตถุประสงค์แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ความเชี่ยวชาญ ไปพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมแก่สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยต่อไป พร้อมทั้งเยี่ยมชมหอมขจรฟาร์ม วัดป่าเลไลย์วรวิหาร ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย…

สำนักงานมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ Season 2 ( พ.ศ. 2567 – 2568 ) ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ “แบ่งเวลาอย่างไรให้ลงตัว”
| |

สำนักงานมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ Season 2 ( พ.ศ. 2567 – 2568 ) ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ “แบ่งเวลาอย่างไรให้ลงตัว”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดี กล่าวเปิดอบรมพร้อมทั้งกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ Season 2 ( พ.ศ. 2567 – 2568 ) ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ “แบ่งเวลาอย่างไรให้ลงตัว” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรานุช โสภา รองคณบดีโรงเรียนท่องเที่ยวและการบริการ กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาระ มีผลกิจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสหวิทยาการการท่องเที่ยว เป็นวิทยากรในครั้งนี้ ดำเนินรายการโดย อาจารย์จตุรดา โภชนจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสหวิทยาการการท่องเที่ยว และนายจตุรโชค ยวงอักษร เจ้าหน้าที่ สำนักงานโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ณ ห้อง Activity space อาคารเรียน 1 ชั้น 2 วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2567