SS1-9 : “Nice PR. สื่อสารได้ สื่อสารดี”
สรุปประเด็น กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้..สู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 9
“Nice PR. สื่อสารได้ สื่อสารดี”
วันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2565 ณ ห้อง Activity Space 2 อาคาร Student Activity Space
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้..สู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้พูดคุย เรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และทาความรู้จัก ความเป็นสวนดุสิตให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนแนวทางการพัฒนาบุคลากรตามทิศทางของมหาวิทยาลัย “จิ๋วแต่แจ๋ว” กิจกรรม “Nice PR. สื่อสารได้ สื่อสารดี” วันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2565 ณ ห้อง Activity Space 2 อาคาร Student Activity Space ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้เป็นเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุน และสายบริการ จานวนทั้งสิ้น 66 คน
นายไพศาล คงสถิตสถาพร ผู้อานวยการกองประชาสัมพันธ์ และทีมประชาสัมพันธ์เป็นวิทยากรในครั้งนี้ โดยการดาเนินกิจกรรมดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทายสถานที่ หรือการเล่าประสบการณ์ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของการประชาสัมพันธ์ วิทยากรได้ให้ความรู้มุมมองความคิดต่อการทาหน้าที่การเป็นผู้สื่อสารที่ดี การทางานอย่างมีความสุข เริ่มจากการมี “การคิดบวก” “ความรักในงานที่ทา หน่วยงาน และองค์กร” เพราะทุกคนเป็นภาพลักษณ์ของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย จากประสบการณ์การจัดสอบและมีผู้ใช้บริการภายนอกที่เข้ามาใช้สถานที่ให้ความชื่นชมเรื่องสถานที่ และห้องสุขา ซึ่งรับผิดชอบโดยกองอาคารและสถานที่ ทาให้เห็นว่าเป็นการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ของมหาวิทยาลัยอย่างหนึ่ง
การเป็นผู้สื่อสารที่ดี จะต้องมีความสัมพันธ์ (Relationship) ที่ดีกับผู้อื่นเพื่อสร้างเครือข่ายการทางานและเป็นคลังข้อมูลสาหรับการให้บริการ หรือมีทักษะการเชื่อมโยงข้อมูล (My map ข้อมูล) ที่จะสามารถ ค้นหาคาตอบ คาแนะนาให้กับผู้มารับบริการได้ นอกจากนั้นต้องมีเทคนิคในการจัดการสถานการณ์เฉพาะหน้าเพื่อเอาชนะใจผู้รับบริการด้วยการให้บริการที่ดี (Good Service)
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมีการให้บริการวิชาการที่หลากหลายจากหน่วยงานต่าง ๆ บุคลากรสวนดุสิตควรที่จะช่วยกันสื่อสารและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่ผู้มารับบริการให้มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับสถานที่ของมหาวิทยาลัย และทุกหน่วยงานมีการสื่อสารข้อมูลเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยงานนั้น ๆ ทาให้บุคลากรรับรู้ข่าวสารและกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นสิ่งสาคัญ ดังนั้น การสื่อสารจะต้องพิจารณาและระมัดระวัง
นอกจากนั้น กองนโยบายและแผน ขอความร่วมมือในการทากิจกรรมของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะการตอบแบบประเมินความโปร่งใสฯ เป็นต้น
การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจานวน 66 คน มีผู้ที่แสดงความคิดเห็นในแบบสอบถาม จานวน 20 คน สรุปผลสารวจได้ดังนี้
1. สิ่งที่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ควรปรับ เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร
อันดับ 1 จัดกิจกรรมที่ให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วม/หรือได้มีโอกาสร่วมกัน เช่น กีฬา 58.83%
อันดับ 2 ประเมินความผูกพัน และส่งเสริมสิ่งที่ขาดหาย 29.41%
อันดับ 3 สื่อสารสร้างความเข้าใจ และสร้างพลังบวก 11.76%
2. แนวทางการสื่อสาร ให้ “โดนใจ” และ “เข้าถึง” ทุก Generation
อันดับ 1 เข้าใจถึงความต้องการของแต่ละ Gen 52.95%
อันดับ 2 สื่อสารหลากหลายรูปแบบ/สื่อ (social media) ทั่วถึง และมีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย 35.29%
อันดับ 3 จัดกิจกรรมพูดคุย หรือการสื่อสารด้วยการพูดคุยให้มากขึ้น 11.76%
3. แนวทางการสื่อสาร เพื่อทาให้คนสวนดุสิต มีกาลังใจหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทางาน
อันดับ 1 เสริมสร้างแรงจูงใจในการทางาน / เสริมแรง เสริมความมั่นใจ (ด้วยรางวัล) 57.89%
อันดับ 2 สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา 31.58%
อันดับ 3 เปิดใจ พูดคุย และรับฟังความคิดเห็น ให้ความสาคัญกับการสื่อสารให้มากขึ้น 10.53%
จากการจัดกิจกรรม พบว่า บุคลากรทุกกลุ่มยินดีและมีความสุขที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้มีโอกาสในการร่วมแสดงความคิดเห็น นาเสนอข้อมูลของหน่วยงานตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ การทางานหากได้เรียนรู้หรือได้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานบ่อย ๆ ก็จะช่วยทาให้รู้จักและเรียนรู้การทางานซึ่งกันและกัน เป็นการเพิ่มเวทีการพบปะพูดคุย รับรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมากขึ้น
ข้อเสนอแนะของผู้วิเคราะห์ เห็นว่า การจัดกิจกรรมที่ผ่านมา รวม 9 ครั้ง ในช่วงแรก ๆ บุคลากรอาจจะรู้สึกไม่มั่นใจ และมีความเกร็งในการเข้าร่วมแต่เมื่อกิจกรรมจัดอย่างต่อเนื่อง และเป็นกิจกรรมที่ได้ทั้งความรู้และมีความสนุกสนาน บุคลากรที่เข้าร่วมได้มีโอกาสในการถ่ายทอดหรือสื่อสารให้เพื่อนร่วมงานฟัง หลายท่านมาเข้าร่วมมากกว่า 1 ครั้ง หลายท่านมีความสุขอยากเข้าร่วมหลาย ๆ ครั้งเพราะได้พบและพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการองค์กร และเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความผูกพันต่อองค์กร แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยให้ความสาคัญกับความคิดเห็นของพนักงานและเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ ทัศนคติของบุคลากรในองค์กรอย่างหนึ่ง