|

SS1-4 : “สร้างแล้วไปทำอะไร”

สรุปประเด็นจาก กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 4
“สร้างแล้วไปทำอะไร”  วันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 เวลา 10.00-11.30 น.


Click สร้างแล้วไปทำอะไร

กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีการเรียนรู้ พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และทำความรู้จักสวนดุสิต ความเป็นสวนดุสิตให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนแนวทางการพัฒนาบุคลากรตามทิศทางของมหาวิทยาลัย “จิ๋วแต่แจ๋ว”

ผู้อำนวยการกองอาคารและสถานที่ กล่าวถึง การสร้างสิ่งใดก็ต้องมีวัตถุประสงค์ มีการใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น ในมหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและทุกสิ่งมีที่มาที่ไป  และการเปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงและการสร้างเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนสวนดุสิต ไม่ว่าจะเป็นอาคารเรียน ห้องประชุม ห้องเรียน ร้านกาแฟ สถานที่ต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาสถานที่ของศูนย์การศึกษาฯ อาคารสถานที่ภายในวิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งพักผ่อน และ ใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยท่านอธิการบดีพยายามเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ทุกพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับคนสวนดุสิตมากที่สุด ผู้อำนวยการกองอาคารและสถานที่เห็นว่า การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติตั้งแต่ครั้งแรกคือ เรื่อง Mind set เพราะต้องการให้ความสำคัญของความคิด คนสวนดุสิตควรมี Mind set ที่ตรงกัน ควรที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับ Mind set ของมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาสวนดุสิตให้เป็นจิ๋วแต่แจ๋ว

การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน มีผู้ที่แสดงความคิดเห็นในแบบสอบถาม  จำนวน 38 คน สรุปผลสำรวจได้ดังนี้

  1. “สถานที่ใด” ใน สวนดุสิต ที่คนสวนดุสิตชอบ
อันดับแรกร้านกาแฟในสวนดุสิต เช่น สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่  โพลคาเฟ่ (นั่งเล่น/กินและทำกิจกรรม)33.33%
อันดับสองทุกสถานที่13.88%
อันดับสามห้องสมุด11.11%
อันดับสี่อาคารบ้านหนูน้อย8.33%
อันดับห้าครัวสวนดุสิต5.55%
อื่น ๆอาคารรักตะกนิษฐ,อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย, อาคารเยาวภา,สวนดุสิตโพล, สระว่ายน้ำ,ห้อง Mockup, ห้องเรียนออนไลน์, ศาลพ่อปู่ฯ,ห้องประชุมหอมขจรและห้องน้ำ เป็นต้น27.80%
  1. 2. คนสวนดุสิตต้องการให้ “สถานที่ใด” พัฒนา
อันดับแรกครัวสวนดุสิต41.66%
อันดับสองห้องสมุด ห้องเรียน25.00%
อันดับสามอาคารครุศาสตร์ และ อาคารจอดรถ16.77%
อื่น ๆสถานที่พักผ่อน โรงยิม ทางเดินหน้าอาคาร 2 โรงแรมสวนดุสิต16.57%
  1. 3. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต “วันนี้” เป็นอย่างไร? ในสายตาของคุณ
อันดับแรกความทันสมัยและสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย63.64%
อันดับสองการพัฒนาการเรียนการสอน การเรียนรู้ที่ทันสมัย15.15%
อันดับสามการพัฒนาสภาพแวดล้อม  9.09%
อื่น ๆสถานที่สะอาด เป็นแหล่งเรียนรู้12.12%

รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดี ให้ความสำคัญกับสถานที่ภายในมหาวิทยาลัย จึงได้ให้นโยบายว่าสถานที่หรือห้องสมุดควรจะเป็นสถานที่เรียนรู้ พูดคุย นัดพบเจอ เพื่อให้เกิดการสื่อสารกัน โดยสร้างบรรยากาศให้เป็นรูปแบบการจิบกาแฟ นั่งคุยกันไปจิบกาแฟและกินขนมอร่อยๆ กันไปแบบผ่อนคลาย ไม่เครียด เพราะ การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ การที่ได้รู้จักพูดคุยกัน จะเกิดองค์ความรู้ใหม่  จึงตั้งใจสร้างคาเฟ่ไลบรารี่ ไว้เป็นพื้นที่ในการช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และเมื่อแนวคิดถูกแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ก็จะได้รับมุมมองในอีกมิติหนึ่ง จะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นับว่า เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสถานที่ต่าง ๆ ของสวนดุสิตให้มี  ความทันสมัย และใช้ทุกพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์กับคนสวนดุสิตให้มากที่สุด และจากการจัดกิจกรรมและผลสำรวจจะเห็นว่าในมหาวิทยาลัยมีหลากหลายสถานที่ที่คนสวนดุสิตชอบ และยังมีอีกหลายสถานที่ที่คนสวนดุสิตอาจจะยังไม่เคยได้รู้จักหรือใช้บริการ

ในยุคหนึ่ง Third Place หรือพื้นที่ที่สาม ที่ไม่ใช่ห้องสมุดมีหลายลักษณะ เช่น คาเฟ่หรือร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม  ซึ่งออกแบบกายภาพร้านให้น่านั่งพบปะสังสรรค์และอ่านหนังสือ co-working space ซึ่งให้บริการเช่าพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ มีการจัดเป็นพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับการเรียนรู้และจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และสิ่งที่ให้บริการตามมาคือกาแฟและอาหารว่าง บางแห่งเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้า  ทั้งนักศึกษามาใช้เป็นสถานที่อ่านหนังสือ  คนทำงานมานั่งพูดคุยกัน ดังนั้น ทุกพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาต่างก็มีวัตถุประสงค์และมีเป้าหมายในการใช้งานในเชิงสร้างสรรค์  และเกิดประโยชน์มากกว่าหนึ่งด้าน   ก็ย่อมเป็นการสร้างที่ก่อให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างยิ่ง


                                                                             สรุปโดย สวนดุสิตโพล

 

Similar Posts