|

SS1-3 : “คนขับพบผู้โดยสาร”

สรุปประเด็นจาก กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 3
“คนขับ พบ ผู้โดยสาร” วันอังคารที่ 6 กันยายน 2565 เวลา 10.00-11.30 น.


กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีการเรียนรู้ พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และทำความรู้จักสวนดุสิต ความเป็นสวนดุสิตให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนแนวทางการพัฒนาบุคลากรตามทิศทางของมหาวิทยาลัย “จิ๋วแต่แจ๋ว”

งานยานพาหนะเป็นงานบริการสำหรับบุคลากรของสวนดุสิต เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่นอกสถานที่ โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่สะดวก ปลอดภัย ผู้ให้บริการมีความสุภาพใส่ใจในการบริการ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านเห็นว่าการให้บริการของงานยานพาหนะ ในส่วนของสำนักงานที่ทำการติดต่อขอรับบริการ ติดต่อได้ง่ายสะดวก และได้รับความช่วยเหลือจัดหายานพาหนะให้กับผู้รับบริการเป็นอย่างดี พนักงานขับรถทุกคนมีการให้บริการที่ดี สุภาพ ขับรถดี มีน้ำใจ มีความตรงต่อเวลา และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการขึ้นและลงรถตลอดเวลา ในอดีตผู้รับบริการบางท่าน  เคยพบเห็นพนักงานขับรถด้วยความเร็วมาก ทำให้กังวลเรื่องความปลอดภัย  นอกจากการให้บริการบุคลากรแล้ว ปัจจุบันงานยานพาหนะมีโครงการ La-or Shuttle  Bus ร่วมกับโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ บริการรับส่งเด็กนักเรียนไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ และอาคารบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อลดปัญหาการจราจร ซึ่งเด็กๆ มีความตื่นเต้นในการได้ขึ้นรถตู้

การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็นในแบบสอบถาม  จำนวน 36 คน สรุปผลสำรวจได้ดังนี้

  1. สิ่งที่บุคลากรรู้สึกกังวล ในการทำงานทุกวันนี้
อันดับแรกความมั่นคงในหน้าที่การงาน/อาชีพ/การต่อสัญญา/การเปลี่ยนระบบการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย54.55%
อันดับสองภาระงานที่เพิ่มขึ้น/ ทำงานไม่ทันตามเวลาที่กำหนด18.18%
อันดับสามการทำงานร่วมกับผู้อื่น / การสื่อสารพูดคุยกับคนอื่น9.09%
อื่น ๆการพัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง/การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสารสนเทศ6.06%
 การจราจรโดยรอบ ในมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเดินทาง6.06%
 ความยุติธรรมของการทำงาน และไม่กังวลเพราะมีการเตรียมตัวพร้อม6.06%
  1. 2. สิ่งที่บุคลากรต้องการเปลี่ยนแปลง “ตนเอง”
อันดับแรกการพัฒนาบุคลิกภาพและความรู้ด้านเทคโนโลยี สุขภาพ ภาษา และด้านต่างๆ45.00%
อันดับสองการเรียนรู้ การเข้าใจและรับฟังผู้อื่น การปรับตัวเองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง20.00%
 ปรับปรุง จัดระเบียบงาน ลำดับความสำคัญให้เสร็จเพื่อความรวดเร็ว20.00%
อันดับสี่การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ  5.00%
อื่น ๆการบริการ/ มีเงินเดือนมากขึ้น/ ภาพลักษณ์/ และมีเป้าหมายชีวิต10.00%
  1. 3. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต “วันนี้” ในสายตาของบุคลากร
อันดับแรกการพัฒนา เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลง/ มีการสร้างสิ่งใหม่ๆ แต่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน (อยากให้พัฒนาคนด้วย)67.65%
อันดับสองการบริหารเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น14.71%
อันดับสามการพัฒนาหน่วยงานให้มีคุณภาพ มีนโยบายใหม่ เข้มงวดมีระเบียบวินัยมากขึ้น11.76%
อื่นๆนักศึกษาน้อย รายได้ลดลง งานน้อยลง2.94%
 เป็นมหาวิทยาลัยที่อบอุ่น อยู่เหมือนครอบครัว2.94%

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ คนขับพบผู้โดยสาร พบว่า หลายหน่วยงานมีประสบการณ์และความพึงพอใจที่ดีต่อการให้บริการของงานยานพาหนะทั้งในด้านบุคลากรสำนักงาน พนักงานขับรถ โดยสิ่งที่หลายคนให้ความสำคัญต่อการบริการด้านงานยานพาหนะ คือ ความปลอดภัย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่พนักงานขับรถที่ดี ควรจะต้องมี [1] คือ การขับขี่ปลอดภัย เพราะมีหน้าที่รับผิดชอบชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารบนรถให้ไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย การมีมารยาทดี การเตรียมความพร้อมก่อนขับขี่ (ร่างกาย จิตใจ เส้นทางและสภาพรถ)  และการขับขี่เชิงป้องกัน หรือ Defensive Driving เป็นทักษะที่ให้ความปลอดภัยขั้นสูงกับผู้ใช้บริการ พนักงานขับรถที่ดีจะไม่เพียงแค่รู้กฎจราจรขั้นพื้นฐาน แต่ยังมีการฝึกสมาธิระหว่างขับ มีความเข้าใจในการขับขี่ สาเหตุและปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุ สามารถประเมินสถานการณ์การขับขี่ได้อย่างละเอียด งานยานพาหนะได้พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานและกำหนดมาตรฐานการให้บริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของการเดินทางและการให้บริการที่ดี และผู้ใช้บริการก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการขึ้นและลงหรือการใช้บริการด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการพัฒนางานบริการควรที่จะมีเครื่องมือในการรับฟังความคิดเห็น ความพึงพอใจ ความคาดหวังเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


                                                                             โดย สวนดุสิตโพล

[1] https://www.sopeople.asia

Similar Posts