|

SS1-5 : “Money is in the air”

สรุปประเด็นจาก กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 5
“Money is in the air” ใครว่าไม่สำคัญ วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00-11.30 น.


แนะนำมหาวิทยาลัย วิทยาเขต/ศูนย์การศึกษา


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเปิดโอกาสให้บุคลากรพูดคุย เรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และทำความรู้จักสวนดุสิต ความเป็นสวนดุสิตให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนแนวทางการพัฒนาบุคลากรตามทิศทางของมหาวิทยาลัย “จิ๋วแต่แจ๋ว” ครั้งนี้กิจกรรม “Money is in the air” ในวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2565 ณ ห้อง Hybrid Learning 2310

วิทยากรโดย ผศ.ดร.ปรียนันท์ ประยูรศักดิ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ กล่าวว่า การที่เราจะสร้าง Money is in the air หรือ เงินในอากาศได้ อยู่ที่จุดเริ่มต้นของการได้เงินที่ไม่ได้มาด้วยง่าย ๆ ขึ้นอยู่กับว่า ใคร? จะคิดหาวิธีการที่จะทำให้ได้เงินมา หรือสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น คือจะต้องมาจากมือและวิธีคิดของเราเอง ดังนั้น ชาวสวนดุสิตต้องมองเห็นวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกับมหาวิทยาลัยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ทำงานเชื่อมโยงกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสวนดุสิตให้ “จิ๋วแต่แจ๋ว”

คณะวิทยาการจัดการมีความหลากหลายของสาขาวิชาและศาสตร์ต่างๆ  คณะมีหน่วยงาน  บริการวิชาการที่พยายามหาสินค้าหรือบริการที่จับต้องได้และไม่ได้  จากหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย  ออกสู่ตลาดเพื่อนำเงินกลับมาสู่มหาวิทยาลัย ทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมนี้  ช่วยกันคิดและนำสิ่งที่ตนเองหรือ  เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในหน่วยงาน  ช่วยกันนำศักยภาพที่มีอยู่ออกมาเพื่อนำไปสู่การทำให้เกิดประโยชน์ พัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าให้กับตนเองและมหาวิทยาลัย  โดยคณะวิทยาการจัดการมีความยินดี ที่จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและส่งเสริมศักยภาพร่วมกัน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันนี้ มีทั้งบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และบุคลากรของศูนย์การศึกษา โดยผู้บริหารวิทยาเขตและศูนย์การศึกษาฯ  ได้บอกกล่าวเล่าเรื่องการดำเนินงาน วิธีคิดและศักยภาพโดยรวม เพื่อให้เห็นว่าแต่ละแห่งมีสิ่งที่โดดเด่นและเข้มแข็งในเรื่องใดบ้าง โดยทุกแห่งมีทุนจากที่มหาวิทยาลัยได้จัดสรรไว้ให้ เช่น อาคารสถานที่เรียน  โรงแรม อาคารที่พัก ร้านกาแฟ  ขนม  การให้บริการอื่น ๆ รวมทั้งศักยภาพ ของบุคลากรภายใน  ก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนากับศูนย์ฯ และมหาวิทยาลัยโดยรวม

การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจำนวน 55 คน (รวมผ่านระบบ Zoom) มีผู้ที่แสดงความคิดเห็นในแบบสอบถาม  จำนวน  48 คน (รวมตอบแบบออนไลน์) สรุปผลสำรวจได้ดังนี้

  1. “การมีรายได้เสริมของบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม”
อันดับ แรกมีรายได้เสริม68.75%
 ต้องการมีรายได้มีเงินเสริม,มีค่าใช้จ่ายมากที่จะต้องใช้ในครอบครัว,รายได้หลักไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย เป็นต้น 
อันดับสองไม่ได้มีรายได้เสริม31.25%
 ไม่มีเวลามีงานประจำมาก กำลังศึกษาต่อ มีภาระอื่นที่ไม่มีเวลาทำรายได้เสริม 
  1. 2. งานภายในหน่วยงาน ที่บุคลากรคิดว่าสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเอง หรือ มหาวิทยาลัย
อันดับแรกการหารายได้จากธุรกิจวิชาการ ให้บริการข้อมูล งานวิจัย39.13%
อันดับสองเปิดให้บริการอบรมกับหน่วยงานภายนอก (แบบครบวงจร)30.43%
อันดับสามหน่วยงานมีการส่งเสริมหารายได้หลายรูปแบบ เช่น การให้เช่าสถานที่ห้องประชุม การเป็นที่ปรึกษา การขายกาแฟ เครื่องดื่ม ขนม13.04%
อื่น ๆการใช้ศักยภาพของบุคลากรการสร้างรายได้ให้คุ้มค่ามากที่สุด การจำหน่ายหรือประมูลครุภัณฑ์ของเก่า สร้างรายได้หรือผลิตภัณฑ์ทางที่เป็นจุดแข็งของ  มสด. ออกสู่ตลาดภายนอก ฯลฯ17.40%
  1. 3. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต “สามารถทำ “อะไร” ได้อีกเพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
อันดับแรกนำศักยภาพของบุคลากรเป็นองค์ความรู้/พัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมและการบริการอื่นๆ ที่มีอยู่ออกสู่ตลาด37.21%
อันดับสองการให้บริการวิชาการ เช่น จัดสอบ เช่าสถานที่  บริการวิชาการ ให้บริการเสริมอื่นๆ เช่น จับอบรมครบวงจร เป็นต้น27.91%
อันดับสามอาจารย์มีศักยภาพในการพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ สร้างเครือข่ายในการเรียนการสอนให้เกิดความหลากหลาย16.28%
อื่น ๆเปิดศูนย์ดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ สร้างรายได้ให้คุ้มค่า,อาหารและเครื่องดื่ม,เปิดโอกาสให้นักศึกษาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เป็นต้น2.32%

การสร้าง “รายได้เสริม” หรือ “Passive Income” เป็นแนวคิดในกลุ่มคนยุคใหม่  เพราะการรับรายได้ทางเดียวจากการทำงานประจำ ไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยี และการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนั้นได้เปิดโอกาสให้เราสร้างรายได้ด้วยวิธีการใหม่ๆ จนบางคนสามารถสร้าง “รายได้เสริม” ให้กลายมาเป็น “รายได้หลัก” การได้มาซึ่ง Passive Income ก็จำเป็นต้อง “ลงทุน” เพื่อแลกมาซึ่งรายได้เพียงแต่ “ทุน” ที่นำไปแลกรายได้เสริมนี้จะไม่ใช่ พลังกายและเวลา เหมือนกับการทำงานประจำเพื่อแลกเงินเดือน สิ่งสำคัญในการสร้าง Passive Income คือ ต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า “ตัวเรามีทุนอะไร?” และจะนำทุนที่มีไป “สร้างรายได้อย่างไร?” ทั้งนี้ คนสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเองต้องค้นหาว่า สวนดุสิต มีอะไรบ้างที่สามารถสร้างรายได้หรือสร้างมูลค่าให้ได้ …

ข้อคิดเรียกเงินจากหนังสือพ่อรวยสอนลูก กล่าวว่า หากเราไม่ยอมแพ้กับความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ยังคงมุ่งมั่นสู้ต่อไป โอกาสที่เราจะประสบความสำเร็จก็จะมีมากขึ้น อย่างน้อย “ขอให้เราได้ลองลงมือทำ” อะไรสักอย่าง นั่นก็ถือว่าเป็น “การเพิ่มโอกาสทำเงินแล้ว” แล้วในปัจจุบันทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลกันได้อย่างง่ายดาย ฉะนั้น ถ้าใครครอบครองข้อมูลมากที่สุด ย่อมมีโอกาสหาประโยชน์จากข้อมูลนั้น ๆ ได้มากกว่าคนอื่น ในขณะเดียวกันการมีเพียงข้อมูลแต่ถ้าไม่รู้จักวิธีวิเคราะห์เชื่อมโยง ข้อมูลนั้นย่อมเปล่าประโยชน์ นอกจากข้อมูลจะสำคัญแล้ว การทำความเข้าใจมันก็สำคัญไม่แพ้กัน

การหาข้อมูลเบื้องต้นเป็นสิ่งสำคัญที่ “คนสวนดุสิต” จะต้องวิเคราะห์ตนเอง ภายใต้ข้อมูลและสภาพแวดล้อมทั้งหมดที่มีอยู่และวิเคราะห์เชื่อมโยงทั้งองค์กรให้ได้ว่า รายได้ของสวนดุสิตมาจากลูกค้า กลุ่มใดบ้าง  จากผลิตภัณฑ์ใดเป็นหลัก และผลิตภัณฑ์ใดเป็นทางเลือก หรือ สวนดุสิต มีอะไรบ้างที่จะเป็นทุน ในการเสริมสร้างรายได้ เมื่อมองออก และมีข้อมูลมากพอ คนสวนดุสิตก็จะเห็นแนวทางการเพิ่มรายได้ โดยดึงสิ่งที่เป็น “ทุนของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต” ออกมาพัฒนาและทำให้เกิดมูลค่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรภายใต้ศักยภาพ ความสามารถของคนสวนดุสิต


                                                                                สรุปโดย สวนดุสิตโพล

Similar Posts