มหาวิทยาลัยสวนดุสิต รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประจำปีการศึกษา 2566 วันที่สอง (วันที่ 18 ตุลาคม 2567)
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประจำปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เป็นกรรมการตรวจประเมิน ได้แก่
1.ศาสตราจารย์ ดร.บุญเจริญ ศิริเนาวกุล ประธานกรรมการ
2.รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน อิงคพัฒนากุล กรรมการ
3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ กรรมการ
ร่วมด้วยคณะกรรมการตรวจประเมิน จากอาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกกานต์ วีระกุล กรรมการ
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตต์วิมล คล้ายสุบรรณ กรรมการ
3.นางสาวจิตราพร จันทรกูล กรรมการ
4.ดร.กิ่งกาญจน์ ทองงอก เลขานุการ
5.นางสาวภัฏฆ์ชนิศา ชัยสุขสุวรรณ ผู้ช่วยเลชานุการ
6.นางสาวพิจิตรา พวงนาค ผู้ช่วยเลขานุการ
7.นางสาวจริญญา คงสมบัติ ผู้ช่วยเลขานุการ
โดยวันที่ 18 ตุลาคม 2567 คณะกรรมการตรวจประเมินฯ เตรียมเอกสารสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ณ ห้องประชุมลิขิต 1 โรงแรมสวนดุสิต เพลส จากนั้น คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สรุปผลการตรวจประเมินพร้อมให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ชมวิดีทัศน์ประมวลภาพการตรวจประเมินฯ จากนั้น ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน ที่ปรึกษาอธิการบดี กล่าวขอบคุณคณะกรรมการฯ และมอบของที่ระลึก
การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประจำปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับเหรียญทอง จากการดำเนินงาน 2 ด้าน ได้แก่
•การบริหารจัดการพื้นที่และภูมิสถาปัตย์
-การบริหารจัดการพื้นที่ที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-การดูแลและบำรุงรักษาพื้นที่ให้สะอาด สวยงาม เรียบร้อย
-มีบริการ OWL ครอบคลุมและเชื่อมโยง ทุกวิทยาเขตและศูนย์การศึกษา
•ระบบการสนับสนุนการวิจัย / SDU Research Club ครบสมบูรณ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
-มีนักวิจัยผู้มีประสบการณ์ สามารถแบ่งปันประสบการณ์กับนักวิจัยรุ่นหลัง
-มีคลังข้อเสนองานวิจัย ที่สามารถบูรณาการข้ามศาสตร์
-มีการติดตามให้ความช่วยเหลือตลอดกระบวนการวิจัย