สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดเสวนาเรื่อง “สุพรรณบุรีโมเดลเมืองต้นแบบอาหารปลอดภัยสู่ความยั่งยืน”ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)

สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดเสวนาเรื่อง “สุพรรณบุรีโมเดลเมืองต้นแบบอาหารปลอดภัยสู่ความยั่งยืน”ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้เกียรติกล่าวเปิดการเสวนาเรื่อง “สุพรรณบุรีโมเดล…เมืองต้นแบบอาหารปลอดภัยสู่ความยั่งยืน” ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)” ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม ดร.สรชัด สุจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี คุณณัชกฤติ พิมพ์ทอง กรรมการผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนสิริสุพรรณ คุณชาตรี รักธรรม ที่ปรึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง และคุณสุภคม เอื้อทยา สมาชิกวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์บ้านโพธิ์ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการสร้างความยั่งยืนผ่านการพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเมืองอาหารปลอดภัย และเชฟจารึก ศรีอรุณ อาจารย์ประจำโรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมสาธิตการสร้างสรรค์นำวัตถุดิบทางการเกษตรปลอดภัยของจังหวัดสุพรรณบุรีพัฒนาเป็นเมนูอาหารพร้อมทาน นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และรองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม ได้นำทีมคณะผู้บริหาร รวมทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าเยี่ยมชมการจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ร่วมจัดแสดงในงานนี้ด้วย…

The Pinnacle Leadership Program : PLP รุ่น 2 เรียนรู้การสร้างเสน่ห์ในการเป็นผู้นำในระดับตำนาน

The Pinnacle Leadership Program : PLP รุ่น 2 เรียนรู้การสร้างเสน่ห์ในการเป็นผู้นำในระดับตำนาน

The Pinnacle Leadership Program : PLP รุ่น 2 เรียนรู้การสร้างเสน่ห์ในการเป็นผู้นำในระดับตำนานผ่านประสบการณ์สุด Exclusive !! ในการเรียนรู้ทริคต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดูสง่างามในแบบฉบับของผู้นำ เรียนรู้ไปกับวิทยากรสุดพิเศษ “คุณพรฟ้า ปุณิกา กุลสุนทรรัตน์” ที่ได้รับการการันตีคุณภาพและความสามารถจากเวที Miss Universe Thailand พร้อมทั้งกิจกรรม Workshop ในการออกแบบท่าทางในการถ่ายภาพ เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพให้สง่างามในทุก ๆ มิติ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี

การประชุม Kick Off โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยกลไกความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูง”

การประชุม Kick Off โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยกลไกความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูง”

รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานการประชุม Kick Off โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยกลไกความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูง” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยการบูรณาการเครือข่ายการวิจัยจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ทั้งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เพื่อร่วมวิเคราะห์ศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ CWEC ในการพัฒนาเศรษฐกิจ  การพัฒนากลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่น การเสนอแนวทางและนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ CWEC ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารในพื้นที่ ในวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ อาคารจันทร์เจริญ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom)

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ร่วมการประชุมหารือกลุ่มย่อย (Focus Group) “นักวิจัยในพื้นที่”

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ร่วมการประชุมหารือกลุ่มย่อย (Focus Group) “นักวิจัยในพื้นที่”

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้เกียรติเป็นประธานและกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมหารือกลุ่มย่อย (Focus Group) “นักวิจัยในพื้นที่” ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยกลไกความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วม ของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูง” ทั้งนี้โดยมีคณาจารย์ คณะทำงาน จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็น ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายในครั้งนี้ และในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ในวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมพวงเงิน ชั้น 2 อาคารจันทร์เจริญ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี

อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์การศึกษา ลำปาง

อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์การศึกษา ลำปาง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรี ดร.วราธร อภิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์การศึกษา ลำปาง พร้อมรับฟังผลการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาในส่วนงานต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมทั้งมอบนโยบายทิศทางการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาให้แก่บุคลากร เพื่อเป็นการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาตนเอง ณ ศูนย์การศึกษา ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันที่ 23 สิงหาคม 2567

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดประชุมคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม (สัญจร) ครั้งที่ 4/2567 

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดประชุมคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม (สัญจร) ครั้งที่ 4/2567 

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดประชุมคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม (สัญจร) ครั้งที่ 4/2567  ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวต้อนรับคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม  ดร.วรานี เวสสุนทรเทพ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี กล่าวแนะนำวิทยาเขตสุพรรณบุรี และ รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม แลกเปลี่ยนแนวทางการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ : หอมขจรโมเดล โดยมี ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร ประธานคณะคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะกรรมการวิจัยฯจากสถาบันอุดมศึกษาร่วมประชุม  พร้อมรับฟังการบรรยายพิเศษโดย ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัย” และ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บรรยายพิเศษและหารือ “แนวทางการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”  โดยการประชุมครั้งนี้เล็งเห็นความสำคัญกับการพัฒนาในด้านการวิจัย นวัตกรรม และการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพราะสถาบันอุดมศึกษาถือเป็นรากฐานของปัญญาและแหล่งสั่งสมองค์ความรู้สำคัญในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมและประเทศชาติ ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม และมีวัตถุประสงค์แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ความเชี่ยวชาญ ไปพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมแก่สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยต่อไป พร้อมทั้งเยี่ยมชมหอมขจรฟาร์ม วัดป่าเลไลย์วรวิหาร ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย…

สำนักงานมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ Season 2 ( พ.ศ. 2567 – 2568 ) ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ “แบ่งเวลาอย่างไรให้ลงตัว”
| |

สำนักงานมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ Season 2 ( พ.ศ. 2567 – 2568 ) ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ “แบ่งเวลาอย่างไรให้ลงตัว”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดี กล่าวเปิดอบรมพร้อมทั้งกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ Season 2 ( พ.ศ. 2567 – 2568 ) ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ “แบ่งเวลาอย่างไรให้ลงตัว” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรานุช โสภา รองคณบดีโรงเรียนท่องเที่ยวและการบริการ กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาระ มีผลกิจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสหวิทยาการการท่องเที่ยว เป็นวิทยากรในครั้งนี้ ดำเนินรายการโดย อาจารย์จตุรดา โภชนจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสหวิทยาการการท่องเที่ยว และนายจตุรโชค ยวงอักษร เจ้าหน้าที่ สำนักงานโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ณ ห้อง Activity space อาคารเรียน 1 ชั้น 2 วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2567

ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 8(1)/2567

ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 8(1)/2567

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 8(1)/2567 โดยมีวาระเรื่องรายงานความก้าวหน้า Journal of Food Health and Bioenvironmental Sciences รายงานความก้าวหน้า ASEAN Journal of Education รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานจริยธรรมการวิจัย ฯลฯ ณ ห้องประชุมสำนักงานมหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567

สำนักเขตดุสิต ร่วมกับ ม.สวนดุสิต จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะ

สำนักเขตดุสิต ร่วมกับ ม.สวนดุสิต จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะ

ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวต้อนรับผู้แทนจากสำนักงานเขตดุสิต ผู้แทนจากรัฐสภา และผู้แทนจากวชิรพยาบาล ในโอกาสที่สำนักเขตดุสิต ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะ เพื่อเข้าสู่การประกวดสุดยอดห้องน้ำ กทม.2567 จากนั้นนายพรรษวัชร อุดมเสฏฐ์ชัย ผู้อำนวยการกองอาคารและสถานที่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำผู้บริหาร และผู้แทนจากหน่วยงานดังกล่าวเยี่ยมชมห้องน้ำหลังอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งเป็นห้องน้ำที่เข้าร่วมโครงการ ณ ห้องประชุมลำพอง วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567