สรุปประเด็น กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้..สู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 10
“DATA 2PLAY” วันพุธที่ 25 มกราคม 2566 ณ ห้อง Activity Space 2 อาคาร Student Activity Space
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้..สู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้บุคลากร ได้พูดคุย เรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และทำความรู้จัก ความเป็นสวนดุสิตให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนแนวทาง การพัฒนาบุคลากรตามทิศทางของมหาวิทยาลัย “จิ๋วแต่แจ๋ว” กิจกรรม “DATA 2PLAY” วันพุธที่ 25 มกราคม 2566 ณ ห้อง Activity Space 2 อาคาร Student Activity Space ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เป็นบุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุน และสายบริการทั้งในมหาวิทยาลัย จำนวน 57 คน และศูนย์การศึกษาผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting จำนวนประมาณ 80 คน
ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ได้กล่าวถึง ความสำคัญของข้อมูล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้ข้อมูลมีทั้งข้อเท็จจริงขึ้นอยู่กับการเลือกรับและเลือกใช้ ข้อมูลที่สำคัญประกอบด้วยผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากมาย
ผศ.ทิพสุดา คิดเลิศ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผศ.ดร.เอื้ออารี จันทร หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบการเรียนรู้ และนายสนธยา แย้มเดช หัวหน้าฝ่ายศูนย์ข้อมูลกลาง เป็นวิทยากร และร่วมทำ (Play) กิจกรรม “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีบริการอะไรบ้างที่คนสวนดุสิตรู้จัก” โดยให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย เช่น ระบบ Microsoft Team ในการเรียนหรือการใช้อื่น ๆ การแชร์ข้อมูลผ่าน One Drive บริการยืม-คืนออนไลน์ การจองห้องออนไลน์ (E-booking) บริการ Help desk ให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือ บริการห้อง Lab การเรียนการสอน บริการยืม Note book ระบบ Wi-fi ของมหาวิทยาลัย บริการหนังสือ ตำราที่เป็นเอกสารยืมคืนได้ ระบบ WBSC ใช้การเรียนการสอน บริการ SDU Application บริการซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ และบริการฐานข้อมูลออนไลน์ โดยสรุป ข้อมูล อยู่กับทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ เป็นหน่วยงานในการรวบรวมและจัดเก็บ สร้างเครื่องมือในการจัดเก็บและสืบค้นให้สะดวกรวดเร็วต่อการใช้งาน
วิทยากรกล่าวถึง ตามนโยบายของท่านอธิการบดี รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน เกี่ยวกับ Library to University หรือทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ (One World Library) และการบริการของสำนักวิทยบริการฯ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนนโยบายดังกล่าว เปรียบเสมือนจิ๊กซอร์เชื่อมโยง ในด้านต่าง ๆ และมีการบริการแบบ Pro Active Service ประกอบด้วย 1) Infrastructure (การให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์) 2) SDU ONLINE 3) Learning Space 4) Library Services (ฐานข้อมูลออนไลน์) และ 5) Platform (บริการ Service Online ของ Microsoft 365 และในอนาคตจะมีการจัดเก็บข้อมูลบน Cloud เพื่อความสะดวกในการใช้งานออนไลน์) DATA คือ ข้อมูลดิบ หรือข้อมูลตั้งต้นเพื่อนำไป จัดกระทำข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ (Information) โดยบทบาทหน้าที่ของสำนักวิทยบริการฯ เป็นทั้งผู้ใช้ และผู้ให้ข้อมูล โดยหน้าที่หลักสำคัญ คือ เป็นผู้ดูแลข้อมูล นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยได้มีประกาศเกี่ยวกับ การใช้ข้อมูล โดยเจ้าของข้อมูลคือ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และสำนักวิทยบริการฯ เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล และผู้ดูแลข้อมูล เพราะทำหน้าที่ในการดูแลระบบการจัดการข้อมูล พร้อมทั้งได้แนะนำช่องทางการเข้าถึงบริการข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นและเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรด้วย
การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจำนวน 57 คน มีผู้ที่แสดงความคิดเห็นในแบบสอบถาม จำนวน 21 คน สรุปผลสำรวจได้ดังนี้
-
- สิ่งที่บุคลากรสวนดุสิต ต้องการฐานข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
อันดับ 1 | ฐานข้อมูลที่จำเป็นและสืบค้นได้ง่าย เช่น ระเบียบปฏิบัติ มติที่ประชุม ข้อมูลระบบทะเบียน/รายวิชา วารสารวิชาการ นักศึกษา และศิษย์เก่า การอบรม บุคลากร เป็นต้น ตลอดจนฐานข้อมูลที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน | 100% |
-
- สิ่งที่บุคลากรสวนดุสิตต้องการรับรู้จาก สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
อันดับ 1 | การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สนับสนุนการทำงานมาให้บริการ เช่น Cloud One Drive ระบบ WBSC เป็นต้น | 31.25% |
อันดับ 2 | การให้บริการ เช่น การดูแลโปรแกรม บริการยืม-จัดหาและดูแล (Support) เครื่องคอมพิวเตอร์ หนังสือทั่วไป เอกสารตำรา ฐานข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัย | 43.75% |
อันดับ 3 | การให้ข้อมูลการให้บริการของสำนักวิทยฯ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ นักศึกษา | 12.50% |
อื่น ๆ เช่น ระยะเวลาแล้วเสร็จของการปรับปรุงสำนักงานฯ ข้อมูลบุคลากรของสำนักวิทยฯ ฝ่ายต่าง ๆ ที่จะติดต่อประสานงาน เป็นต้น | 12.50% |
-
- สิ่งที่บุคลากรสวนดุสิตต้องการได้รับการสนับสนุนหรือเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวก จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
อันดับ 1 | เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับบุคลากร และสำหรับสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ | 38.10% |
อันดับ 2 | ระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ต Wi-Fi ที่เสถียร รวดเร็ว เข้าใช้ง่าย (ความเร็วสูง) (รวมความเสถียรของระบบ e-office) | 28.57% |
อันดับ 3 | ช่องทางการขอรับบริการ ขอใช้ข้อมูล การติดต่อเจ้าหน้าที่ support
การสนับสนุนสาย Lan และการสนับสนุนบุคลากร/อุปกรณ์ในการจัดประชุม |
14.29% |
อันดับ 4 | ห้องสมุดที่มีความหลากหลาย สวยงาม | 9.52% |
อันดับ 4 | เกร็ดความรู้ที่หลากหลาย และเทคนิคการใช้เครื่องมือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน | 9.52% |
จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้บุคลากรได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริการต่าง ๆ ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งช่องทางการเข้าใช้บริการ และมีความเข้าใจในการทำงานเกี่ยวกับ การจัดการข้อมูล และความสำคัญของข้อมูลต่าง ๆ ของภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและการขอรับบริการจากสำนักวิทยบริการฯ
สวนดุสิตโพล
6 กุมภาพันธ์ 2566