สรุปประเด็นจาก กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 6

“เปลี่ยน ปรับ รับ Gen Z”  วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 09.30 – 11.30 น.


I.เปลี่ยน ปรับ รับ Gen Z

Clip เปลี่ยน ปรับ รับ Gem Z

 

 

กิจกรรมนี้การแลกเปลี่ยนเรียรู้สู่การปฏิบัติ “เปลี่ยน ปรับ รับ Gen Z” ครั้งที่ 6 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบไปด้วยบุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุน ตัวแทนกิจการนักศึกษา และนักศึกษา โดยเป็นการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนสร้างการรับรู้และความเข้าใจระหว่างบุคลากรและนักศึกษาในการปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันภายใต้มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

 

ดร.นกุล ฤกษ์จริจุมพล ผู้อานวยการกองพัฒนานักศึกษา ได้กล่าวถึงลักษณะความสาคัญของพฤติกรรมของคนเจนเนอเรชั่น (Gen) X Y และ Z ที่มีทั้งเหมือนกันและต่างกัน เช่น คน Gen Z มีพฤติกรรมที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว ไม่ชอบการรอคอยนาน ๆ มีเหตุผลในการพูดคุย กล้าแสดงออก สนใจสังคมและสิ่งแวดล้อม สนใจในบางวิชา และชอบความแปลกใหม่ คนGen Y เป็นกลุ่มที่เยอะที่สุดในโลกนี้ มีการเติบโตมาด้วยเทคโนโลยีเหมือน Gen Z แต่ต่างกันที่เศรษฐกิจของช่วงนั้น ๆ

การแสดงความคิดเห็นโดยรวมพบว่า กลุ่มนักศึกษาที่เป็น Gen Z มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย เช่น การรับฟังความเห็นของนักศึกษา ต้องการรับบริการที่ดีและรวดเร็วแม้ว่าการบริการบางครั้งอาจมีความล่าช้าไม่ตรงกับความต้องการที่เร่งด่วนของนักศึกษาแต่เมื่อได้รับการอธิบายเหตุผลจากเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับฟังและปฏิบัติตามได้ การใช้อาคารสถานที่ในเวลาเรียนที่ไม่รบกวนการเรียนการสอน และใช้สถาน

ที่นอกเวลาเรียนสาหรับทากิจกรรม และต้องการให้มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้มากขึ้นตามความเหมาะสม ในช่วงสถานการณ์โควิด 2019 ทาให้ไม่มีกิจกรรมใด ๆ แต่เมื่อสถานการณ์ได้คลี่คลายแล้ว เป็นโอกาสที่ดีที่มหาวิทยาลัยจะสนับสนุนส่งเสริมให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ส่วนของคณะและหลักสูตรรวมทั้งกองพัฒนานักศึกษาให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษาในทุกกระบวนการ โดยยกตัวอย่างที่ผ่านมา นักศึกษาได้มีการจัดกิจกรรมของโครงการ “Singha Corporation Presents Teenage Fun 2 มันส์ สุด ทีน x มหาวิทยาลัยสวนดุสิต”ที่อาคารรักตะกนิษฐ โดยนักศึกษาสามารถบริหารจัดการกิจกรรมและผู้เข้าร่วมให้บรรลุเป้าหมายเป็นอย่างดี เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าGen Z เป็นผู้ที่มีความสามารถและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นอย่างสูง

จากจานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 70 คน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแบบถามเร็ว-ตอบเร็ว จานวน 52 คน สรุปความเห็นได้ดังนี้

1. สิ่งที่ผู้เข้าร่วมต้องการให้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต “เปลี่ยน ปรับ รับ Gen Z” อันดับที่ 1 เปิดรับฟังความคิดเห็น/หันหน้าเข้าหากัน เรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น รับฟังความต้องการของ Gen Z ให้มาก/มีเวลาที่ให้แสดงความคิดเห็น 43.48%
อันดับที่ 2 สร้างความสัมพันธ์/ลดช่องว่าง/จัดกิจกรรมให้หลากหลาย/เปิดพื้นที่ทากิจกรรม 19.56%
อันดับที่ 3 ปรับเปลี่ยน เข้าถึงเทคโนโลยีให้ทันสมัยหลากหลาย มีสื่อเครื่องมือที่น่าสนใจ 17.39%
อันดับที่ 4 ควรให้พื้นที่อิสระไม่ต้องควบคุม ยืดหยุ่นในกฎระเบียบ ไม่เคร่งครัดเกินไป) 10.87%
อันดับที่ 5 บุคลากรควรเรียนรู้ ทาความเข้าใจ ปรับมุมมองให้และเข้าถึงคน Gen Z 8.70%

 

2. สิ่งที่ผู้เข้าร่วมต้องการให้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ทาเพื่อสร้างความพึงพอใจให้ทุกกลุ่ม Gen อันดับที่ 1 การพูดคุยแลกเปลี่ยนและรับฟังกันมากขึ้น รวมทั้งมีการกิจกรรมระหว่าง Gen เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจกันมากขึ้น 64.58%
อันดับที่ 2 มีกิจกรรมสาหรับนักศึกษา (Gen Z) ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา 20.83%
อันดับที่ 3 มีรูปแบบและวิธีการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยตรงกับความต้องการและการใช้งานของนักศึกษา 14.59%

 

3. สิ่งที่ “Gen อื่น” อยากบอกกับ
“Gen Z” อันดับที่ 1
พูดคุย และรับฟังความคิดเห็นกันให้มากขึ้น 51.16%
อันดับที่ 2 การควบคุมอารมณ์ การแสดงออก 18.60%
อันดับที่ 3 Gen Z เป็นกลุ่มที่ใช้และเก่งเทคโนโลยี ควรใช้ให้เกิดประโยชน์ เรียนรู้ที่จะเอา

ตัวรอดจากการใช้เทคโนโลยี

13.95%
อันดับที่ 4 การสร้างความสัมพันธ์ การทางานเป็นทีม 9.30%
อันดับที่ 5 Gen Z มีความเป็นตัวเองสูง ควรใส่ใจและคิดถึงคนรอบข้างบ้าง 6.98%

 

4. สิ่งที่ “Gen Z” อยากบอกกับ “Gen อื่น” อันดับที่ 1 การรับฟัง ความเข้าใจในเด็ก พูดคุยและให้โอกาสในการสื่อสารระหว่างกัน

การเปิดใจยอมรับในความเห็นต่าง เคารพซึ่งกันและกัน คานึงถึงสิทธิและเสรีภาพของทุกคนอย่างเหมาะสม

62.86%
อันดับที่ 2 กล้าแสดงออก การปรับตัว และควรพัฒนาเรียนรู้ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ 25.71%
อันดับที่ 3 การยืดหยุ่นในเรื่องต่าง ๆ (การพัฒนาความคิดและความต้องการร่วมกัน) 11.43%

 

ในปี 2025 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า กลุ่ม Gen Z หรือคนที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1996-2012 จะมีสัดส่วนเท่ากับ 25% ของประชากรทั้งหมด Gen Z ไม่ได้คาดหวังว่าแบรนด์ต้อง Perfect แต่สิ่งที่ต้องการเห็นจากแบรนด์คือ “ความจริง” มากกว่า (ทั้งตัวตนและความจริงใจ)

การปรับตัวขององค์กรเพื่อรองรับคน Gen Z ปรับตัวด้วยการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ในการทางาน องค์กรควรปรับตัวให้เครื่องมือออนไลน์กับการทางานมากขึ้น เช่น มีระบบประชุมออนไลน์ ระบบบริหารจัดการบุคคล ระบบฐานข้อมูลในการทางานร่วมกันสร้างปฏิสัมพันธ์และรับฟังความเห็น Gen Z ควรรับฟังความเห็นในสิ่งที่นาเสนอ เปิดใจยอมรับแนวคิดของคนรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดทางานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นทีมเวิร์กเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถส่งเสริมให้คน Gen Z ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่

จากกิจกรรมและผลสารวจ “เปลี่ยน ปรับ รับ Gen Z” ครั้งนี้ คือ ข้อคิดเห็นหรือการเปิดช่องทางในการพูดคุยรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง นักศึกษา ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน ทาให้เกิด “การเรียนรู้” และแสดงถึง “ความจริงใจ” ในการยอมรับกันและกัน นักศึกษาพร้อมที่จะรับฟังและทาความเข้าใจมหาวิทยาลัย เมื่อมหาวิทยาลัยรับฟังนักศึกษาและมีข้อมูลหรือเหตุผลที่เพียงพอ ก็จะเป็นโอกาสในการที่จะเกิดการสื่อสารหรือบอกต่อ “สิ่งดีๆ” ตรงใจให้กับรุ่นใหม่ ๆ อีกทั้งยังเป็นภาพที่สะท้อนความจริงใจในการอยู่ร่วมกับความหลากหลายของ Gen


โดย สวนดุสิตโพล